TCP / IP

โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS  | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน

Internet Management

SNMP

File Transfer And Access

NFS

FTP

TFTP

HTTP

CIFS

UUCP

Time Of Network

NTP

Electronics Mail

SMTP

POP3

IMAP4

NNTP

Real Time

IRC

Message Encryption Key

SET

SSL

PCT

Other Protocol

ACAP

DNS

TELNET

IP ADDRESS

กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารบนระบบเครือข่าย Internet ซึ่งหมายเลข IP Address ถูกกำหนดตายตัวไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขได้ จะต่างกับหมายเลข MAC address ( Media Access Control Address ) ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวอุปกรณ์และไม่นิยมใช้บนเครือข่ายเพราะจะทำให้เกิดปัญหามาก เมื่อมีการย้ายเครื่องใหม่จำต้องมีการกำหนดระบบเครือข่ายใหม่ ( Configuration ) จำตัวเลขได้ยากกว่า

การทำงานของโปรโตคอล IP จำต้องอาศัย IP Address เพื่อระบุและอ้างอิงอุปกรณ์ต่างๆที่ต่ออยู่ในเครือข่าย ซึ่งค่า IP Address จะเป็นค่าตัวเลขขนาด 32 บิต ถูกแบ่งออกเป็นส่วนละ 8 บิต 4 ส่วน และคั่นแต่ละส่วนด้วยเครื่องหมายจุด ( . ) ดังนั้นค่าตัวเลขในแต่ละส่วนจะมีได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255(28 ) เช่น 205.144.78.1ฯลฯ นอกจากนี้ IP Address บางหมายเลขจะถูกสงวนการใช้ไว้เพื่อที่จะทำหน้าที่พิเศษเป็น Loop Back เพื่อเป็นแอดเดรสย้อนกลับสำหรับค่าอุปกรณ์นั้นเช่น 127.0.0.0

ค่าของ IP Address จะถูกกำหนดออกเป็น 2 ความหมายคือ ค่าของหมายเลขอุปกรณ์ในเครือข่ายและค่าของหมายเลขเครือข่าย เช่น มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องต่ออยู่บนเครือข่ายโดยมี IP Address ประจำตัวคือ 205.144.78.2 และ 205.144.78.3 แสดงให้เห็นว่าหมายเลข 205.144.78 นั้นบอกได้ว่าทั้ง 2 เครื่องนั้นต่ออยู่บนเครือข่ายเดียวกัน แต่มีหมายเลขประจำตัวเครื่องที่แตกต่างกันคือ 2 และ 3 ตามลำดับ

เพื่อมิให้มีการแจกจ่ายหมายเลข IP Address ที่ซ้ำซ้อนกันจึงมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำหนด IP Addressและแจกจ่ายเลขหมายให้แต่ละองค์กรใช้งานคือหน่วยงานInterNIC(Internet Network Information Center ) เป็นผู้ดูแลบานข้อมูลการแจกจ่ายแอดเดรส

IPv4 และ IPv6

..จากที่ผ่านมาในช่วงหลายทศวรรษ จะเห็นได้ว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของ IPv4 ลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้มีการพัฒนาวิธีการทำซับเน็ต (Subnetting) และวิธี CIDR ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานหมายเลขไอพีที่มีอยู่ แต่จากการขยายตัวทางโครงข่ายอินเทอร์เนทอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ หมายเลขไอพีแอดเดรส 4 พันล้านหมายเลขหมดลงในที่สุด จึงต้องมีการคิดค้นโปรโตคอลตัวใหม่ขึ้นมาแทนที่โปรโตคอลชุด IPv4 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ปี ค.ศ. 1991องค์กร IETF จึงเริ่มโครงการวิจัยเพื่อการศึกษาค้นคว้าหาแนวทางพัฒนาในรูปแบบใหม่ขึ้น โดยอ้างถึงโปรโตคอลดังกล่าวในชื่อ ไอพียุคถัดไป ( IPng: IP next generation ) ซึ่งผลการวิจัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน และเรียกโปรโตคอลตัวใหม่อย่างเป็นทางการว่า IPv6 หรือโปรโตคอลไอพีรุ่น 6 ซึ่งพื้นฐานการทำงานจะยึดมาจากข้อกำหนดของ IPv4 เพื่อให้สอดคล้องและรองรับความต้องการของรูปแบบการสื่อสารสมัยใหม่ สามารถสรุปเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้คือ

- มีการเพิ่มและขยายขนาดของหมายเลขไอพีแอดเดรสจากเดิม 32 บิต เป็น 128 บิต ซึ่งมีขนาดใหญ่มากถึง 3.4*10 38 หมายเลขเมื่อเทียบกับไอพีแบบเดิม

ที่มีขนดเพียง4*10 9

- มีการพัฒนากลไกการติดตั้งหมายเลขอย่างอัตโนมัติให้กับอุปกรณ์แต่ละตัว ทำให้สะดวกและง่ายแก่การใช้งานและการดูแลระบบ

- ลดความซับซ้อนของเฮดเดอร์ลงโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยให้การประมวลผลแพ็กเกตทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

- มีการใช้โครงสร้างเฮดเดอร์ที่สามารถเพิ่มขยายได้อย่างเป็นระบบ แทนโครงสร้างแบบเดิมที่กำหนดรูปแบบตายตัวและมีข้อจำกัดขนาดของเฮดเดอร์ ทำให้สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้

- มีการกำหนดไอพีแอดเดรสชนิดใหม่ ที่เรียกว่า เอนีคาสต์แอดเดรส (anycast address) เพิ่มเข้ามาช่วยให้กระบวนการเลือกเส้นทาวของแพ็กเกตมีขีดความสามารถมากขึ้น

- มีการกำหนดลำดับความสำคัญของการส่งผ่านข้อมูลหลายระดับ เพื่อให้การส่งผ่านข้อมูลมีความสอดคล้องกับทราฟฟิกแต่ละประเภท ทำให้ระบบสามารถประกันคุณภาพของการให้บริการได้

- เพิ่มมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่ส่งผ่านระบบ ดูแลปกป้องความเป็นส่วนตัวของข่าวสาร

ไอพีแอดเดรสของ IPv6

ในการติดต่อโดยผ่านโปรโตคอล IPv6 สามารถแบ่งการติดต่อได้ 3 แบบคือ

1. ยูนิคาสต์ (Unicast) เป็นหมายเลขประจำตัวของอินเทอร์เฟซแต่ละแห่งสำหรับโฮสต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เราเตอร์ ( Roueter )หรือกล่าวคือการกำหนดหมายเลข IP Address ให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ถ้ามีการส่งแพ็กเกตไปที่หมายเลขแอดเดรสแบบยูนิคาสต์ แพ็กเกตดังกล่าวจะถูกส่งไปยังตำแหน่งของอินเทอร์เฟซตามที่ระบุ โดยแบบยูนิคาสต์จะแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ

- Provider-based address ใช้กำหนดให้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เนตหรือบริษัท ISP ซึ่งข้อมูลของไอพีแอดเดรส จะมีส่วนของ Provider ID และ Subscriber ID อยู่ด้วยเพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นของ ISP ใด

- Site-local-use address เป้นการกำหนดแอดเดรส v6 ให้กับองค์กรที่ต้องการใช้ โปรโตคอล TCP/IP แต่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนต เรียกว่าเป็นการใช้งานแบบอินทราเนทในเบื้องต้น

- Link-local use address ใช้กำหนดให้กับเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเตอร์เนทตลอดเวลา

 

รูป unicast

 

2. มัลติคาสต์ ( Multicast ) เป็นการส่งข้อมูลจากที่ๆหนึ่งให้กับกลุ่มของผู้รับใดๆกลุ่มหนึ่งที่กำหนดไว้ตามเงื่อนไข เรียกว่าเป็นการส่งแบบ One-to-Many ซึ่งจะแตกต่างจากการส่งข้อมูลแบบ Broadcast ที่ส่งข้อมูลแบบ One-to-All คือ ทำการส่งให้ทุกคนที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งการที่ขนาดของไอพีแอดเดรสที่ใหญ่กว่าแบบเดิมทำให้ มีไอพีแอดเดรส ที่ทำหน้าที่ multicast มีจำนวนมากกว่าโดยโครงสร้างจะเป็นดังรูป

รูป multicast

 

3. เอนี่คาสต์ (Anycast) เป็นไอพีแอดเดรสที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ภายใต้การกำหนดจากหมายเลข multicast address ทำหน้าที่คล้าย multicast ที่สามารถกำหนดค่าหมายเลขให้มีจุดเชื่อมต่อได้มากกว่า 1 เลขหมาย ซึ่งการส่งข้อมูลไปยัง ไอพีแอดเดรสที่เป็น Anycast นี้จะเหมือนกับการส่งข้อมูลให้กับทุกคนในกลุ่มของ อินเทอร์เฟซเดียวกัน