TCP / IP

โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS  | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน

Internet Management

SNMP

File Transfer And Access

NFS

FTP

TFTP

HTTP

CIFS

UUCP

Time Of Network

NTP

Electronics Mail

SMTP

POP3

IMAP4

NNTP

Real Time

IRC

Message Encryption Key

SET

SSL

PCT

Other Protocol

ACAP

DNS

TELNET

FTP(File Transfer Protocol)

FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยกำเนิดมาจากการเป็นคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Unix และแพร่หลายอยู่ในระบบปฏิบัติการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Window ซึ่งคุณสมบัติของFTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์จากจากเซิร์ฟเวอร์(download) หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์(upload)ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียส่วนใหญ่

ตัวอย่างโปรแกรมWS_FTP

วิธีการทำงานของFTP

FTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐานTCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร(Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection-oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทางและต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจะเข้าใช้งานได้

ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ

1.ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจากไคลเอนต์แล้วเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ก็ได้

2.ข้อมูลที่เป็นคำสั่ง(Command) FTP จะมีคำสั่งที่ใช้งานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์หรือไดเรคทอรี่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ get ใช้โหลดไฟล์มายังเครื่องไคลเอนต์ เป็นต้น โดยผู้ใช้จะสั่งงานที่ไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน และแจ้งผลการทำงานกลับมายังไคลเอนต์ ซึ่งผลาการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานะการทำงานภายในFTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้ายไป ซึ่งก็คือผลของการทำงานหรือคำอธิบายต่างๆโดยที่ FTP มีกระบวนการภายในที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่รับส่งนี้เป็นคำสั่ง ไม่ใช่ตัวข้อมูลที่ต้องการโอนย้าย

การที่ FTP สามารถแยกแยะข้อมูลจริงออกจากข้อมูลที่เป็นคำสั่งได้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่การทำงานของโมดูลใน FTP เรียกว่าตัวแปรโปรโตคอล(Protocol Interpreter module หรือ PI) ซึ่งจะทำหน้าที่รองรับการทำงานคำสั่งต่างๆของ FTP และในส่วนของข้อมูลที่รับส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของโมดูลโอนข้อมูล(Data Transfer module หรือ DT ) ซึ่งโมดูลทั้งสองนี้จะต้องทำงานอยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องที่เป็นไคลเอนต์