TCP / IP

โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS  | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน

Internet Management

SNMP

File Transfer And Access

NFS

FTP

TFTP

HTTP

CIFS

UUCP

Time Of Network

NTP

Electronics Mail

SMTP

POP3

IMAP4

NNTP

Real Time

IRC

Message Encryption Key

SET

SSL

PCT

Other Protocol

ACAP

DNS

TELNET

การจัดลำดับชั้นของเครือข่าย ( Network Class )

การกำหนดค่า IP Address ไม่สามารถกำหนดขึ้นได้ตามใจชอบแต่มีระเบียบวิธีการแบ่งและการกำหนดที่ชัดเจนเป็นมาตรฐาน ใน IP Address จะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนโดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุด ซึ่งสามารถแยกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย และส่วนที่สองเป็นหมายเลขของเครื่องลูกข่าย ทั้งนี้การแบ่งส่วนจะเป็นไปตามการแบ่งระดับชั้นของเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแจกจ่ายให้กับเครือข่ายต่างๆได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแบ่งได้ 5 ลำดับชั้น คือ ( 32 บิต )

class A  IP Address บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น 0 เสมอ เป็นที่เริ่มตั้งแต่ 0 –127 จะกำหนดให้กับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เพราะ 1 เครือข่ายมีเครื่องลูกข่ายได้กว่า 16 ล้านเครื่อง จะเป็นลักษณะเช่น 121.7.23.3 หมายถึง เครือข่ายที่ 121 หมายเลขเครื่องคือ 7.23.3

class B 2 IP Address บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น 1 และ 0 เสมอ เป็นที่เริ่มต้นตั้งแต่ 128-191 จะกำหนดให้กับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่เช่นกันแต่เล็กกว่าคลาสเอ ในแต่ละเครือข่ายของคลาสบีสามารถมีเครื่องลูกข่ายได้ 216-จำนวนแอดเดรสที่ใช้ควบคุมระบบเครือข่าย = 64,516 เครื่องจะเป็นลักษณะ เช่น 137.103.210.2 หมายถึง เครือข่ายเลขที่ 137.103 หมายเลขเครื่อง คือ 210.2

class C  3 IP Address บิตแรกของไบต์แรกสุดจะเป็น 1,1และ 0 เสมอ เป็นที่เริ่มตั้งแต่ 192-223 จะกำหนดให้กับเครือข่ายที่เป็นองค์กรขนาดกลางถึงเล็ก ในแต่ละเครือข่ายมีเครื่องลูกข่ายได้ไม่เกิน 28-จำนวนแอดเดรสที่ใช้ควบคุมระบบเครือข่าย = 254 เครื่อง จะเป็นลักษณะ เช่น 202.182.255.3 หมายถึง เครือข่ายเลขที่ 202.192.255 หมายเลขเครื่องคือ 3

class D เป็นการกำหนด IP Address สำรองไว้สำหรับส่งข้อมูลแบบ ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายให้ใช้งานทั่วไป

class E  เป็น IP Address พิเศษที่ใช้สำหรับงานทดสอบและพัฒนาไม่มีการกำหนดให้ใช้งานทั่วไป

SUBNET

ปัจจุบันการกำหนด IP Address ของเครือข่ายประเภท Class A และ Class B นั้น ไม่มีการกำหนดให้แล้ว เนื่องจากแทบไม่มีเครือข่ายที่มีความจำเป็นต้องใช้ มากขนาดนั้น คงเหลือแต่ Class C เท่านั้นที่กำหนดให้แต่ละบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ และถึงแม้ว่าจะเป็นเครือข่ายที่ใช้ ประเภท ก็ตาม ส่วนมากก็ไม่มีใครเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายมากถึง 254 เครื่อง ในหนึ่งเครือข่าย หากทุกๆเครือข่ายมีอุปกรณ์หรือเครื่องติดตั้งใช้งานในเครือข่ายนั้นเพียงไม่กี่เครื่อง แต่จำเป็นต้อง กำหนด IP Address ให้ใช้งานในเครือข่ายนั้น 254 เครื่อง จะเกิดปัญหามี IP Address ที่ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถที่จะนำ IP Address ที่ไม่ได้ใช้งานนี้ไปให้ผู้อื่นได้ ดังนั้น การทำ Subnet หรือ Sub Network จึงเกิดขึ้น เพื่อแบ่งครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยๆ และทำให้การกำหนดใช้งาน IP Address ที่ได้รับสามารถแบ่งออกเป็นส่วนๆ เหมาะสมกับจำนวนอุปกรณ์ในแต่ละเครือข่ายได้ ทั้งยังแบ่ง IP Address ส่วนที่ไม่ได้ใช้ให้หน่วยงานอื่นหรือเครือข่ายอื่นได้อีกด้วย