TCP / IP

โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS  | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน

Internet Management

SNMP

File Transfer And Access

NFS

FTP

TFTP

HTTP

CIFS

UUCP

Time Of Network

NTP

Electronics Mail

SMTP

POP3

IMAP4

NNTP

Real Time

IRC

Message Encryption Key

SET

SSL

PCT

Other Protocol

ACAP

DNS

TELNET

CIFS

CIFS ( Common Internet File System ) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับกำหนดมาตรฐานการเข้าถึงไฟล์ที่อยู่ห่างไกลบนอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต โปรโตคอลนี้กำหนดวิธีให้ไคลเอนต์ร้องขอบริการไฟล์จาเซิร์ฟเวอร์ และส่วนเพิ่มเติมของ CIFS ที่เรียกว่า Common Internet File System/Enterprise กำหนดวิธีให้ไคลเอนต์ใช้ค้นหาเซิร์ฟเวอร์ และกำหนดโปรโตคอลสำหรับให้ไคลเอนต์ร้องขอบริการอื่นๆ เช่น บริการพิมพ์เอกสาร เป็นต้น พื้นฐานของ CIFS กำเนิดมาจาก โปรโตคอล SMB ( Server Message Block ) ที่ใช้กันอยู่ในระบบปฏิบัติการต่างๆ

ซึ่งโปรโตคอล CIFS จะเป็นเพียงส่วนเติมเต็มให้กับ HTTP และ FTP ไม่ใช่เข้ามาแทนที่

ข้อดีของ CIFS มีอยู่หลายอย่างคือ

  • มีการแบ่งปันและล็อกไฟล์ที่อนุญาตให้ไคลเอนต์หลายรายสามารถเข้าถึง ไฟล์และปรับปรุงทรัพยากรเดียวกัน กลไกเดียวกันนี้ยังอนุญาตให้ไคลเอนต์แคชข้อมูลได้ในแบบ Read-Ahead/Write-behind ได้เพราะ CIFS มีกลยุทธ์ที่จะสามารถทำงานร่วมกับแคชได้

  • CIFS พยายามที่จะแคชไฟล์ โดยใช้กลไกที่เรียกว่า Opportunistic Locking ( เรียกสั้นๆว่า Oplock ) เมื่อไคลเอนต์เปิดไฟล์ขึ้นมา ขณะนั้น CIFS จะเปิดไฟล์ และพยายามให้เซิร์ฟเวอร์เปิดบริการ Oplock ถ้าหากได้รับอนุญาตแล้ว ไคลเอนต์จะสามารถแคชข้อมูลนำมาบันทึก ( ที่ไคลเอนต์ ) และยังสามารถคาดเดาและอ่านข้อมูลล่วงหน้าได้อีกด้วย เมื่อไคลเอนต์อื่นขอให้เซิร์ฟเวอร์เปิดไฟล์เดียวกันนี้ขึ้นมาใช้ เซิร์ฟเวอร์จะส่งสัญญาณ Oplock Break ไปยังไคลเอนต์ตัวแรกต้องปล่อยข้อมูลที่ครองอยู่ทั้งหมดออก แล้วจึงล็อกข้อมูลเพียงบางส่วนของข้อมูล หรือกระทำการอื่นๆโดยไคลเอนต์ต้องหยุดการแคช เซิร์ฟเวอร์จึงจะเปิดให้ไคลเอนต์รายที่สองเข้าถึงข้อมูลในไฟล์ได้

  • สามารถทำงานได้ดีบนการเชื่อมต่อแบบ Dial-up ที่เชื่องช้า

  • สามารถกำหนดชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ด้วยชุดอักขระที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษได้

  • สามารถทำงานบน โปรโตคอลแบบ Connection-oriented และ Connectionlss ได้ ( เช่น TCP และ UDP ตามลำดับ)

  • สามารถรองรับคำสั่งในแบบแบตช์ได้ นั่นคือ ไคลเอนต์สามารถเก็บรวบรวมคำสั่งที่ต้องการไว

เป็นชุดแล้วส่งมาให้เซิร์ฟเวอร์ดำเนินงานในคราวเดียว ซึ่งสามารถช่วยลดเวลาไปกลับของคำสั่งและการตอบสนองกลับของแต่ละคำสั่ง

เพื่อให้สามารถเข้าถึงไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์ ไคลเอนต์ต้องสามารถจำแนก URL ( Unifrom Resource Locator ) เพื่อแยกชื่อเซิร์ฟเวอร์ออกมา ซึ่ง CIFS ได้กำหนดวิธีการวิธีการแปลงชื่อเซิร์ฟเวอร์ไปเป็นแอดเดรสไว้สองวิธี วิธีหนึ่งคือการเข้าไปเเปลงชื่อของ NetBios ส่วนอีกวิธีหนึ่งซึ่งเหมาะสมกว่าคือการใช้ ระบบ DNS ( Domain Name System ) โดยสามารถทำงานได้กับทุกระบบ

CIFS มีระบบอ่านและเขียนบางส่วนของไฟล์ได้ การโอนย้ายไฟล์ก็สามารถเริ่มต้นจากจุดที่ใช้เป็นจุดตรวจสอบ โดยไม่ต้องเริ่มจากต้นไฟล์ทุกครั้ง ในขณะที่ FTP ( แบบดั้งเดิม ) ต้องเริ่มจากต้นไฟล์เสมอ ข้อเท็จจริง ที่ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ไม่น่าไว้วางใจ ( เนื่องจากการเชื่อมต่ออาจจะหยุดชะงักลงง่ายๆ ) ทำให้เป็นประเด็นหนึ่งที่เพิ่มน้ำหนักให้กับการเลือกใช้งาน CIFS