|
โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน |
||||||||||||||||||||||||||
|
FTP(File Transfer Protocol) FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยกำเนิดมาจากการเป็นคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Unix และแพร่หลายอยู่ในระบบปฏิบัติการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Window ซึ่งคุณสมบัติของFTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์จากจากเซิร์ฟเวอร์(download) หรือส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์(upload)ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียส่วนใหญ่ ตัวอย่างโปรแกรมWS_FTP วิธีการทำงานของFTPFTP จะทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐานTCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร(Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection-oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทางและต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจะเข้าใช้งานได้ ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ 1.ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจากไคลเอนต์แล้วเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ก็ได้ 2.ข้อมูลที่เป็นคำสั่ง(Command) FTP จะมีคำสั่งที่ใช้งานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์หรือไดเรคทอรี่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ get ใช้โหลดไฟล์มายังเครื่องไคลเอนต์ เป็นต้น โดยผู้ใช้จะสั่งงานที่ไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน และแจ้งผลการทำงานกลับมายังไคลเอนต์ ซึ่งผลาการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานะการทำงานภายในFTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้ายไป ซึ่งก็คือผลของการทำงานหรือคำอธิบายต่างๆโดยที่ FTP มีกระบวนการภายในที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่รับส่งนี้เป็นคำสั่ง ไม่ใช่ตัวข้อมูลที่ต้องการโอนย้าย การที่ FTP สามารถแยกแยะข้อมูลจริงออกจากข้อมูลที่เป็นคำสั่งได้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่การทำงานของโมดูลใน FTP เรียกว่าตัวแปรโปรโตคอล(Protocol Interpreter module หรือ PI) ซึ่งจะทำหน้าที่รองรับการทำงานคำสั่งต่างๆของ FTP และในส่วนของข้อมูลที่รับส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของโมดูลโอนข้อมูล(Data Transfer module หรือ DT ) ซึ่งโมดูลทั้งสองนี้จะต้องทำงานอยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องที่เป็นไคลเอนต์ |