|
โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน |
||||||||||||||||||||||||||
|
DATA PACKET เมื่อมีการรับส่งข้อมูลกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น ตัวข้อมูล ( เช่น ข้อความในอีเมล์หรือ ไฟล์ HTML ที่เห็นในโปรแกรมเบราเซอร์ )จะถูกทำให้มีขนาดเล็กลง โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า Data Packet หรือ Datagram ซึ่งการจัดแบ่งข้อมูลให้เป็นส่วนย่อยลงนี้มีประโยชน์คือทำให้เครือข่ายนั้นสามารถรองรับการติดต่อและรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด หรือพบปัญหาเครือข่ายทำงานได้ช้าเมื่อมีการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ เนื่องจากสายสัญญาณการเชื่อมโยงเป็นสื่อที่ต้องแบ่งกันใช้งาน นอกจากนี้การแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ ยังทำให้สามารถเพิ่มกระบวนการตรวจทาน ความถูกต้องของข้อมูลที่ปลายทาง และแก้ไขเมื่อข้อมูลผิดพลาดหรือตกหล่นได้โดยง่ายอีกด้วยจากการเชื่อมโยงของสายสัญญาณที่ใช้ในเครือข่ายนั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้งานร่วมกัน เมื่อมีอุปกรณ์ใดต้องการส่งข้อมูล อุปกรณ์อื่นๆต้องรอให้การส่งข้อมูลนั้นเสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะสามารถส่งข้อมูลของตนเองได้ โดยเฉพาะการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ ถ้าไม่มีการแบ่งข้อมูลให้เป็นส่วนเล็กลงเพื่อทยอยส่งไปยังปลายทาง โดยเป็นการแบ่งเวลาให้กับอุปกรณ์อื่นๆได้ใช้สายสัญญาณด้วยแล้ว เครือข่าย นั้นก็อาจจะเกิดปัญหาติดขัดได้ ทั้งนี้เมื่อ datagram ถูกส่งไปยังปลายทางแล้ว ก็จะมีกระบวนการรวมข้อมูลย่อยเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ต่อไป ประโยชน์อีกประการของการแบ่งข้อมูลให้เป็นส่วนย่อยๆคือ การแก้ไขและตรวจสอบข้อมูลที่เสียหายในการส่งข้อมูล จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณต่างๆเรามักจะพบปัญหาสัญญาณรบกวนหรือสัญญาณขาดหายระหว่างการส่งอยู่บ่อยๆ ทำให้ข้อมูลที่ส่งไปยังผู้รับไม่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากข้อมูลที่ถูแบ่งเป็น datagram จะมีขนาดเล็กลง ทำให้สามารถเพิ่มการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลนั้นๆได้ดีขึ้น เช่น เทคนิคการคำนวณ จะคำนวณค่าของข้อมูลที่ส่งไปและได้รับ ถ้าตรงกันก็แสดงว่าการรับส่งข้อมูลนั้นถูกต้อง แต่ถ้าผลการคำนวณไม่ตรงกัน ด้านผู้รับก็จะส่งสัญญาณมาให้เพื่อส่งเฉพาะ datagram นั้นใหม่อีกครั้ง โดยไม่ต้องส่งข้อมูลทั้งหมดมาอีก ทำให้สามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดทำได้อย่างรวดเร็ว ตัวข้อมูลที่ถูกแยกออกเป็น data packet หรือ datagram นี้จะมีลักษณะเป็น ข้อมูลแบบต่อเนื่อง ( Stream Byte ) คือมีการกำหนดลำดับก่อนหลังของข้อมูล เพื่อให้ประกอบข้อมูลย่อยคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างถูกต้อง และมีรูปแบบที่แน่นอน โดย datagram จะประกอบไปด้วยส่วนของ header และส่วนของตัวข้อมูล (body) โดยในส่วนของ header จะมีข้อมูลต่างๆระบุที่อยู่ปลายทางที่ต้องส่งข้อมูลไป,เลขหมายต้นทางที่ส่งข้อมูลมา, ค่าบอกขนาดความยาว datagram นี้ และข้อมูลอื่นๆ
|