TCP / IP

โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS  | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน

Internet Management

SNMP

File Transfer And Access

NFS

FTP

TFTP

HTTP

CIFS

UUCP

Time Of Network

NTP

Electronics Mail

SMTP

POP3

IMAP4

NNTP

Real Time

IRC

Message Encryption Key

SET

SSL

PCT

Other Protocol

ACAP

DNS

TELNET

IP DATAGRAM

จากขบวนการ Encapsulation นั้น ข้อมูลที่ทำการติดต่อไม่ว่าจะเป็นเนื้อความในอีเมล์ หรือไฟล์ที่ส่งไปมา จะถูกผนึกข้อมูลหรือ Encapsulation ไปเป็นรูป IP datagram และสุดท้ายก็จะถูกแปลงเป็น Ethernet Frame หรือเฟรมข้อมูลในรูปแบบอื่นๆตามลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพ เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลออกสู่เครือข่ายและข้ามเครือข่ายไปสู่อินเตอร์เน็ตได้ ตัวข้อมูลที่ถูกแปลงมาเป็น IP datagram นี้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วน IP header ที่มีขนาด 32 ไบต์ และส่วนเนี้อข้อมูลที่เรียกว่า payload ขนาดของ IP datagram มีขนาดไม่แน่นอน

ส่วนของ IP header มีการแบ่งย่อยเพื่อระบุพารามิเตอร์ในการใช้งานต่างๆเป็นดังนี้

  • version มีขนาด 4 บิตถูกกำหนดค่าเป็นในกรณีที่ใช้ IP Address เป็น Ipv4 และในอนาคตเมื่อ IP datagram มีการใช้งานเป็น IPv6 หรือ IP เวอร์ชัน 6 ค่าของ ก็จะมีค่าเป็น 6

  • length มีขนาด 4 บิต ซึ่งเป็นค่าความยาวของ IP Header นี้

  • Type of Service เป็นฟีลด์ข้อมูลขนาด 8 บิต เพื่อบอกให้ทราบว่าจะดำเนินการกับข้อมูลนี้อย่างไร เช่น Low Delay เป็นต้น แต่ในการใช้งานจริง อุปกรณ์ Router ที่ส่งผ่านข้อมูลจะไม่สนใจข้อมูลนี้

  • Total Length มีขนาด 16 บิต เก็บข้อมูลแสดงค่าความยาวสุทธิของ นี้เป็นจำนวนไบต์ ดังนั้นขนาดของ IP datagram จะมีความยาวได้ไม่เกิน 216 หรือ 65,535ไบต์ ซึ่งในส่วนของ IP header จะมีขนาดอย่างน้อย 20 ไบต์ ดังนั้นเนื้อข้อมูลหรือ payload ของ IP datagram ใดๆ จะมีขนาดได้ไม่เกิน 65,515 ไบต์ และในการส่งผ่านข้อมูลกันในอินเทอร์เน็ต ตัว IP datagram จะมีขนาดเล็กสุด ที่ 576 ไบต์ ดังนั้นในการส่งผ่านข้อมูล IP datagram ขนาด 576 ไบต์จึงเป็นขนาดเล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถแยกย่อยลงกว่านี้ได้อีก

  • Identification เป็นข้อมูลที่บอกให้ทราบว่า IP datagram นั้นมาจากที่ใด โดยเฉพาะ กรณีที่ข้อมูลถูกแยกออกเป็นส่วนย่อยๆแล้ว

  • Flags และ Fragment Offset เป็นส่วนข้อมูลที่ใช้ระบุการแยกและรวมข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกแยกออกเป็นข้อมูลย่อย (fragment)สามารถกลับมารวมกันใหม่ตามลำดับได้ถูกต้อง

  • Time หรือ Time to Live เป็นข้อมูลแสดงจำนวนเวลามากที่สุดของ IP datagram นี้ ซึ่งสามารถจะส่งผ่านเครือข่ายไปยังปลายทางได้ โดยมีหน่วยเป็นวินาที และตามปกติจะมีค่าเป็น 32 โดยระหว่างที่ข้อมูล IP datagram ถูกส่งผ่าน Router ตัว Router ก็จะลดค่า Time to Live ลง 1 ค่าเสมอ ทำให้สามารถนำค่า time นี้ไปใช้นับจำนวนเครือข่ายที่ IP datagram นี้ถูกส่งผ่านไปยังปลายทางได้ ซึ่งเรียกว่า hop count

  • Protocol เป็นข้อมูลการระบุโปรโตคอลที่ทำงานใน Layer ข้างบนซึ่งผนึกลงมาใน IP datagram ซึ่งตัวอย่างของโปรโตคอลในชั้นบนที่ถูกผนึกมาให้ IP นี้ได้แก่ โปรโตคอล TCP, โปรโตคอล UDP และโปรโตคอล ICMP เป็นต้น ส่วนค่าที่อยู่ในฟีลด์นี้จะเป็นตัวเลขตามตาราง

  • Header Checksum เป็นส่วนของข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเฉพาะในส่วนของ IP header ไม่รวม payload ซึ่งการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนี้ โปรโตคอล IP จะทำหน้าที่ในการคำนวณและตรวจสอบ โดยกรณีที่เกิดความผิดพลาดของข้อมูล IP datagram นั้นจะถูกยกเลิกหรือไม่รับข้อมูลมาใช้งาน

  • Source IP Address เป็นส่วนเก็บข้อมูลของ IP Address ต้นทางที่ IP datagram นี้ถูกส่งมา

  • Destination IP Address เป็นส่วนเก็บข้อมูลของ IP Address ปลายทางที่เป็นผู้รับข้อมูล IP datagram นี้

  • Option เป็นฟีลด์เก็บข้อมูลที่มีขนาดไม่แน่นอน ใช้สำหรับกำหนดค่าพารามิเตอร์ ส่วนประกอบปลีกย่อย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการนำไปใช้งาน

  • Padding ทำหน้าที่เป็นส่วนข้อมูลเติมเต็มเพื่อให้ IP header เต็มครบ 32 ไบต์ซึ่งเป็นผลมาจาก Option ที่มีขนาดไม่แน่นอน