TCP / IP

โปรโตคอลคืออะไร | IP ADDRESS  | Network Class | DATA PACKET | ENCAPSULATION | IP DARAGRAM | Exercise | Site Map | ความเป็นมาโครงงาน

Internet Management

SNMP

File Transfer And Access

NFS

FTP

TFTP

HTTP

CIFS

UUCP

Time Of Network

NTP

Electronics Mail

SMTP

POP3

IMAP4

NNTP

Real Time

IRC

Message Encryption Key

SET

SSL

PCT

Other Protocol

ACAP

DNS

TELNET

IMAP4(Internet Message Access Protocol)

IMAP เป็นอีกโปรโตรคอลหนึ่งที่ใช้ส่งอีเมล์ ซึ่งมีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้หลากหลายแบบมากกว่า POP ปัจจุบันIMAM ถูกพัฒนาจนเป็นเวอชั่น4 จุดเด่นของIMAP คือ ผู้ใช้สามารถเลือกดาวน์โหลดเฉพาะอีเมลล์ที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องโหลดมาทั้งหมดเหมือนโปรโตคอลPOP3 นอกจากนี้IMAP ยังสามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Offline,Online และDiconnected อีกด้วย ดังนั้นประโยชน์ที่ได้จากIMAP ก็คือ หากผู้ใช้มีอีเมล์แอดเดรสเพียงชื่อเดียว แต่มีเครื่องที่ใช้งานอยู่หลายเครื่อง เช่น เครื่องที่บ้าน ,ที่มทำงาน หรือแลปท็อปก็จะสามาถเลือกดาวน์โหลดเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการเก็บไว้ที่เครื่องใดก็ได้ แต่ถ้าเป็นPOP3 การดาวน์โหลดจะต้องทำพร้อมกันหมดทุกอีเมล์ ดังนั้น IMAP จึงเป็นโปรโตโคที่สามารถใช้งานกับสื่อสารที่มีความเร็วต่ำได้อย่างดี

การทำงานของIMAP นี้จะเหมือนกับโปรโตคอลอื่นๆโดยทำงานร่วมกับ TCP ใช้พอร์ตหมายเลข143 และจะแบ่งเป็นสถานะต่างๆออกเป็น 4 สถานะ โดยในแต่ละสถานะจะมีวัตถุประสงค์และคำสั่งที่ใช้งานแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.สถานะก่อนอนุมัติ – เป็นสถานะที่กำลังรอให้ไคลเอนต์ติดต่อเข้ามาเพื่อขออนุมัติใช้ ดังนั้นในด้านไคลเอนต์จะต้องแจ้งLogin ของMail Server นั้นและ Password ด้วยคำสั่ง LOGIN ก่อนจึงจะเริ่มใช้งานได้ จากนั้นจึงเปลี่ยไปเป็นสถานะได้รันการอนุมัติ

2.สถานะได้รับการอนุมัติ – เป็นสถานะที่สามารใช้คำสั่งต่างๆที่เกี่ยวกับการเลือกและใช้งานเมล์บ็อกซ์ เช่น คำสั่ง SELECT เพื่อเลือกเมล์บ็อกซ์ หรือคำสั่ง CREATE เพื่อสร้างเมล์บ็อกซ์ เป็นต้น ในการเลือกเมล์บ็อกซ์ด้วยคำสั่ง SELECT หรือEXAMINE นี้เป็นการเปลี่ยนสถานะการเลือกเมลล์บ็อกซ์

3.สถานะเลือกเมลล์บ็อกซ์ – เป็นสถานะที่จะเข้าใช้งานอีเมลล์ในแต่ละเมล์บ็อกซ์ หลังจากที่เลือกเมล์บ็อกซ์ไว้แล้วในสถานะก่อนหน้านี้

4.สถานะเลิกใช้งาน – เมื่อต้องการเลิกใช้งาน หรือสิ้นสุดการทำงาน IMAP จะเข้าสู่สถานะการเลิกใช้งาน โดยใช้คำสั่ง LOGOUT

การทำงานทั้ง 4 สถานะ ไม่จำเป็นต้องทำงานเรียงต่อกันเสมอไป